วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ตัวอย่างกิจกรรมทางคณิตศาสตร์





การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยการนับถือว่าเป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเด็ก จะเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งต่างๆกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควร ให้เด็ก ได้ฝึกจากประสบการณ์จริง อาจให้นับกระดุมเสื้อ นับ ต้นไม้ในสนาม นับหลอดด้าย เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท จุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท อุปกรณ์ 1. ส้ม 2-3 ผล 2. มะม่วง 2-3 ผล3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล) 4. การจาด 5. ผ้าสำหรับคลุม ขั้นจัดกิจกรรม 1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้ 2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร 3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล 4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับจำนวนผลไม้ 5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้ การประเมินผล สังเกต 1. จากการร่วมกิจกรรม 2. จากการสนทนาตอบคำถาม 3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจับคู่ ถือว่าเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของคณิตศาสตร์อีกกิจกรรมหนึ่ง จุดมุ่งหมาย เพื่อให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะของวัตถุหรือรูปภาพ ตั้งแต่เรื่องขนาด รูปทรง สี หรือลักษณะรายละเอียดอื่น ๆ ตัวอย่างกิจกรรม จับคู้ลูกหมู จุดประสงค์ เพื่อฝึกจับคู่สิ่งต่าง ๆ ให้เข้าพวกกัน อุปกรณ์ 1. แผ่นผ้ายสำลี 2. ภาพลูกหมู 3 ภาพ 3 สี 3. ภาพบ้าน 3 หลัง (ทำตัวฟาง กิ่งไม้ อิฐ) ขั้นจัดกิจกรรม 1. เล่าเรื่อง “ลูกหมูสามตัว” ให้เด็กฟัง 2. สนทนาซักถามเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทาน3. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาจับคู่ภาพลูกหมูกับบ้านที่ลูกหมูแต่ละตัวสร้าง การประเมินผล สังเกต 1. จากการร่วมกิจกรรม 2. จากกการสนทนาตอบคำถาม 3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การเปรียบเทียบ ต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสิงสิ่งว่ามีลักษณะเฉพาะอย่างไร สิ่งที่สำคัญในการเปรียบเทียบคือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น และรู้จักคำศัพท์ที่จะต้องใช้ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ใหญ่กว่า เป็นต้น ตัวอย่างกิจกรรม กระดุมหลากสี จุดประสงค์ เพื่อฝึกฝนการเปรียบเทียบ (มากกว่าและน้อยกว่า) โดยใช้กระดุม อุปกรณ์ กระดุมจำหนึ่ง ที่มีสี รูปร่าง และขนาดต่างกัน ขั้นจัดกิจกรรม 1. หยิบกระดุม 5 เม็ด วางบนโต๊ะ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงเป็นแถว 2. ให้เด็กดูพร้อมจำนวนกระดุม 3. ให้เด็กปิดตา แล้วหยิบกระดุมออก 1 เม็ด 4. ให้เด็กลืมตาแล้วบอกจำนวนกระดุมว่ามี “มากกว่า” หรือ “น้อยกว่า” เมื่อเปรียบเทียบกับตอนแรก 5. อาจเปลี่ยนกิจกรรมจากการเปรียบเทียบจำนวนเป็นการเปรียบเทียบขนาดแทน การประเมินผล สังเกต 1. จากการร่วมกิจกรรม 2. จากการสนทนาตอบคำถาม 3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ เด็กปฐมวัยมักไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการคงที่ของปริมาตรวัตถุ ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือย้ายที่ก็ตาม การอนุรักษ์ปริมาณของวัตถุควรเริ่มที่กิจกรรมการเล่นทราย และน้ำความคิดรวบยอดในเรื่องการอนุรักษ์ก็คือปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม ตัวอย่างกิจกรรม การอนุรักษ์ปริมาณจุดประสงค์ เพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ปริมาณ อุปกรณ์ 1. ถ้วยตวงชนิดใส 3-4 ใบ 2. แก้วที่มีขนาดและรูปทรงต่าง ๆ ขั้นจัดกิจกรรม 1. เทน้ำใส่ถ้วยตวงทั้งหมดที่มี ให้มีปริมารน้ำเท่ากันทุกใบ อาจหยดสีผสมอาหารใส่ลงไปด้วย เพื่อให้เด็กมองเห็นระดับน้ำได้ชัดเจน 2. แจกถ้วยตวงพร้อมกับแก้วเปล่ารูปทรงต่าง ๆ แก่เด็กเป็นคู่ ๆ 3. ให้เด็กเทน้ำจากถ้วยตวงใส่ลงแก้วเปล่ารูปทรงต่าง ๆ 4. ให้เด็กเปรียบเทียบปริมาณน้ำจากแก้วกับถ้วยตวง 5. สนทนาโดยใช้คำถาม “ปริมาณน้ำที่เด็ก ๆ เห็นต่างกันหรือไม่” 6. สรุปเกี่ยวกับการอนุรักษ์ปริมาณ การประเมินผลการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์

ตารางกิจกรรมประจำวันของโรงเรียนโสมาภาพัฒนา



ตารางกิจกรรมประจำวัน กำหนดไว้โดยประมาณดังนี้
07.00 น.
รับนักเรียนเป็นรายบุคคล
08.00 น.
เข้าแถวเคารพธงชาติ/ กิจกรรมธรรมคีตา / กายบริหาร
08.30 น
นั่งสมาธิ / ให้การอบรม
08.40 น.
กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม / กิจกรรมเสริม (ตารางของแต่ละห้อง)
09.10 น.
รับประทานอาหารว่าง
09.20 น.
จัดกิจกรรม 6 กิจกรรม / กิจกรรมเสริม (ตารางของแต่ละห้อง)
11.00 น.
รับประทานอาหารกลางวัน / แปรงฟัน / ทำภาระกิจส่วนตัว
12.00 น.
นอนหลับพักผ่อน
14.00 น.
ตื่นนอน / เก็บที่นอน / ทำภาระกิจส่วนตัว
14.30 น.
ดื่มนม / ทบทวนบทเรียน
15.00 น.
เตรียมตัวกลับบ้าน
หมายเหตุ ตารางกิจกรรมประจำวัน สามารถปรับให้เหมาะสมกับเวลา เหตุการณ์ ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี สภาพชุมชน และท้องถิ่น ทั้งนี้ต้องมีครบทุกกิจกรรม

ความรู้ที่ได้ วันที่ 26 พ.ย. 2550




คณิตศาสตร์เป็นเรื่องของตัวเลข การคิดคำนวน การเปรียบเทียบ ฯลฯ และในชีวิตประจำวันเพราะเป็นสิ่งจำเป็น ส่วนการจัดกิจกรรมต้องให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทัง 5 ให้มากๆๆ เละสอนเด็กผ่านการเล่น เช่น นิทาน มุมต่างๆ เพลง เกมการศึกษา งานศิลปะ หน่วยการเรียนรู้ กิจกรรมการเคลื่อนไหว กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมวงกลมหรือเสริมประสบการณ์ และครูผู้ปกครองก็ควรสงเสริมให้เด็กได้สำรวจ ให้เหตุผล และคิดแก้ปัญหาต่างๆด้วยตัวเอง

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

นิทานสำหรับเด็ก


มีบ้านหลังหนึ่ง เจ้าของบ้านเลี้ยงสุนัขไว้ด้วยกันทั้งหมด 5 ตัว เป็นสุนัขพันธุ์ปั๊กทั้งหมด 4 พี่น้อง แต่ละตัวล้วนอ้วนท้วนสมบูรณ์น่ารักแต่อีกตัวที่เหลือเป็นสุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์ ที่มีร่างกายกำยำใหญ่โต มันถือว่าตัวเองตัวใหญ่จึงดุและเกเร ชอบรังแกเจ้า ตัวเล็กๆ นี่เสมอ โดยเฉพาะเวลาเจ้าของไม่อยู่หรือเผลอจนเจ้าตัวเล็กทั้งสี่ รู้สึกเอือมระอากับพฤติกรรมของมันวันหนึ่งในขณะที่เจ้าตัวใหญ่หลับอยู่ เจ้าตัวเล็กก็ได้ประชุมหารือกันโดยเจ้าน้องเล็กสุดถามพวกพี่ ๆ ว่า "พวกเราจะทำอย่างไรกับเจ้าหมาตัวโตนี่ดีนะ ไม่ให้มันมารังแกเราได้ทุกวันอย่างนี้ บางวันฉันยังไม่ได้กินข้าวเลย มันแย่งของฉันกินหมด ฟ้องเจ้านายก็ไม่ได้"เจ้าสุนัขตัวรองเสนอแผนการขึ้นว่า "เอาอย่างนี้สิ หากระดิ่งหรือกระพรวนไปผูกคอมัน เวลามันแอบเดินมาหาเราตอนนอนหลับหรือตอนเราเผลอ เราจะได้ยินกระดิ่งที่คอของมัน พวกเราจะได้หาที่หลบทันกันดีไหม"บรรดาพวกสุนัขพันธุ์ปั๊กทั้งหลายต่างพากันชอบอกชอบใจในแผนการณ์อันนี้มากแต่สุนัขพี่ใหญ่ซึ่งเป็นตัวที่ฉลาดที่สุดในกลุ่มนิ่งคิดก่อนที่พูดอย่างหารือว่า "อืม...ม..ม...แผนการนี้ดีมากเลยพี่ชอบ แต่ว่า..ใครละจะเป็นคนเอากระดิ่งไปผูกคอมัน??"
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ใครๆ ก็สามารถเป็นผู้เสนอหรือวางแผนการต่างๆ กันได้ แต่ใครละจะลงมือทำ

เพลงสำหรับเด็ก


เพลงนับดี ดี
เร็วเข้าซีเร็วเข้าซี นับดีดี นับให้ดังๆ นกฝูกหนึ่งมากมายเสียจัง นับดังๆ นับให้ดีดี 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

บทความทางคณิตศาสตร์


จากนิตยสารรักลูก โดยเกตน์สิรี เมื่อเจ้าตัวเล็กเริ่มท่องเลขได้ คนเป็นพ่อแม่ก็พากันปลื้มค่ะ ครั้นท่อง One Two Three…ได้อีก คราวนี้ปลื้มกันสุดๆ เชียวล่ะ แม้พอถามว่าลูกเข้าใจความหมายที่แท้จริงหรือเปล่า ว่า 1 และ 2 คืออะไร ถ้าเป็นผลไม้จะมีสักกี่ผล หรือเป็นสิ่งของจะมีสักกี่ชิ้น แล้วได้คำตอบ “ไม่รู้” ก็ตาม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของลูกไม่ใช่แค่ท่องจำตัวเลข 1 2 3 4…10 หรือ 1 + 1 = 2 เท่านั้น แต่คณิตศาสตร์ คือการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ เมื่อเขาเติบโตขึ้น รู้จัก Mathematic ทุกวันนี้หมดยุคท่องจำ หรือมุ่งการเรียนรู้เฉพาะเรื่องจำนวนและตัวเลขแล้วค่ะ เพราะว่าคณิตศาสตร์สามารถเรียนรู้ได้ง่ายๆ จากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเล่นกับลูก ไปเที่ยว หรือจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น นับต้นไม้ ใบไม้ ซึ่งมีทั้งการนับ ขนาด ปริมาณ น้ำหนัก การเปรียบเทียบ เรียนรู้เวลา และอื่นๆ มากมาย ที่สำคัญทุกสาขาอาชีพก็ต้องล้วนเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ บัญชี เทคโนโลยี การเมือง การปกครอง การทำนา ล้วนมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น Mathematic Growing เมื่อรู้ของเขตแล้วก็ส่งเสริมเจ้าตัวเล็กได้ตั้งแต่แรกเกิดค่ะ ขวบปีแรก ลูกสามารถสร้างพื้นฐานทางคณิตได้ก่อนที่จะบวกหรือลบเป็นเสียอีก เขาสามารถเชื่อมโยงความคิดกับตัวเลขด้วยการตีความง่ายๆ เรียนรู้ว่ามีจมูกหนึ่งจมูก มีตาสองตา รู้จังหวะเคลื่อนไหวจากการคลาน ซึ่งความสามารถทางคณิตศาสตร์ของลูกถูกพัฒนาด้วยการกระตุ้นหรือการมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อมรอบตัว สิ่งเหล่านี้จึงเป็นบันไดสำคัญที่จะพัฒนาไปสู่การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเจ้าตัวเล็กในช่วงวัยต่อไปค่ะ ขวบปีที่สอง เรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น สามารถจัดประเภทสิ่งของได้ทำให้ลูกเข้าใจจำนวน ตัวเลข รู้จักนับนิ้วมือ 1 2 3 เรียนรู้ความแตกต่างของรูปทรง การจับคู่ รู้จักการใช้เหตุผล มีจินตนาการและเห็นการเชื่อมโยงของสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น เมื่อตีกลองเขารู้ว่าจะต้องมีเสียงดัง สิ่งเหล่านี้พ่อแม่ต้องกระตุ้นลูกบ่อยๆ จะทำให้เขาเข้าใจความหมายและรู้จักนำจินตนาการมาใช้ได้ดีขึ้น ขวบปีที่สาม ลูกจะเห็นการจับคู่เป็นเรื่องง่ายแล้วค่ะ วัยนี้จึงควรจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ได้ใช้ทั้งความคิด ความมีเหตุผล และเห็นการเชื่อมโยงกันให้มากขึ้น เช่น ลูกมีตุ๊กตากี่ตัวจ๊ะ ลูกต้องการรถกี่คัน หรืออาจจะให้ลูกช่วยจัดโต๊ะอาหาร ให้อาหารสัตว์ หรือไปซื้อของ ลูกจะได้เรียนรู้ การจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบ การจัดวาง เป็นต้น พีธากอรัส นักคณิตศาสตร์ ชาวกรีก กล่าวไว้ว่า “หลายสิ่งหลายอย่างสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยคณิตศาสตร์” คาร์ล เฟรดริช เกาส์ นักคณิตศาสตร์ที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ กล่าวว่า “คณิตศาสตร์ไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นการเรียนรู้ที่ให้ความเพลิดเพลินสูงสุด” Fun+Learn in 7 Day การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของลูกเริ่มต้นจากการเล่นและการใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติค่ะ ซึ่งทุกกิจวัตรประจำวันถือเป็นโอกาสดีที่จะผสมผสานให้ลูกได้เรียนรู้และเข้าใจถึงทักษะง่ายๆ และใกล้ตัว Monday : เรียนรู้การนับและจำนวน ฝึกให้ลูกรู้จุกการนับจากชีวิตประจำวันขณะกิน เล่น เล่านิทาน เช่น การนับนิ้วมือ ช่วงแรกให้นับ 1-5 ก่อน แล้วเพิ่มเป็น 10 จากนั้นจึงค่อยเชื่อมโยงไปสู่ตัวเลขที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้ลูกเห็นจำนวนที่แท้จริงมากขึ้น ซึ่งนอกจากลูกจะได้เรียนรู้การนับแล้ว ยังได้เรียนรู้สรรพนามที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ และผลไม้ต่างๆ ซึค่งจะทำให้เขาเรียนรู้เรื่องของเซ็ท หรือการจัดหมวดหมู่ได้ง่ายขึ้นค่ะ เช่น 1 = ขนมเค้ก 1 ชิ้น 2 = กล้วย 2 ลูก 3 = หมวก 3 ใบ Tuesday : เรียนรู้ขนาด สอนด้วยการเปรียบเทียบให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ช่วงแรกใช้แค่ขนาดเล็ก-ใหญ่ก่อน ซึ่งอาจจะเป็นเสื้อผ้า ของเล่นหรือผลไม้ เช่น “กางเกงของลูกตัวเล็กกว่ากางเกงของแม่อีกค่ะ” หรือ “หนูว่าแตงโมกับส้ม ผลไม้ชนิดไหนใหญ่กว่ากัน” จากนั้นก็เอาของทั้ง 2 อย่างมาเปรียบเทียบให้ลูกดู Wednesday : เรียนรู้ปริมาณและน้ำหนัก ทำให้ลูกดูได้เรียนรู้มากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากัน เช่น การเทน้ำใส่แก้ว การตักทราบใส่ถัง เก็บของใส่กล่อง เช่น นำแก้วสามใบ และนม แก้วใบแรกใส่นมเต็มแก้ว ใบที่สองใส่ครึ่งแก้ว และใบที่สามไม่ต้องใส่ ลองถามลูกว่าแก้วใบไหนเต็มใบไหนว่าง และใบไหนมีนมครึ่งแก้ว เด็กวัยนี้จะสามารถเรียนรู้ความหมายของคำว่าเต็ม และว่างเปล่า แต่บอกไม่ได้ว่าครึ่งแก้วเป็นอย่างไร หรืออาจเปรียบเทียบน้ำหนัก ด้วยการให้ลูกลองยกของที่มีน้ำหนักแตกต่างกัน แล้วถามว่าของสิ่งไหนหนักกว่ากัน Thursday : เรียนรู้รูปทรง การเล่นแท่งบล็อก ลูกได้เรียนรู้ทั้งรูปทรง การเปรียบเทียบสีสัน ขนาด ตำแหน่งที่วาง การจัดหมวดหมู่ และการนับจำนวนโดยคุณแม่อาจตั้งคำถามให้ลูกคิด เช่น “มีแท่งบล็อกสี่เหลี่ยมกี่แท่งนะ” หรือ “ไหนหนูลองแยกแท่งบล็อกที่มีสีเหมือนกันซิค่ะ” Friday : เรียนรู้เวลา สอนให้ลูกเรียนรู้จากสิ่งที่ง่ายก่อน เช่น ก่อน-หลัง เร็ว-ช้า วันนี้-พรุ่งนี้ ด้วยการพูดคุยกับลูก เช่น “ถ้าหนูเดินเร็วเราก็จะไปถึงสนามเด็กเล่นเร็ว แต่ถ้าเดินช้าก็ไปถึงช้า” หรือ “พรุ่งนี้วันเสาร์แม่จะพาลูกไปเที่ยวสวนสนุก ตอน 8 โมงเช้า ลูกอยากไปมั้ยจ๊ะ” Saturday : เรียน วัน เดือน ปี โดยเริ่มต้นให้ลูกเรียนรู้จากกิจกรรมง่ายๆ หรืออาจยกตัวอย่างเป็นวันสำคัญหรือเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง มาให้ลูกฟังก็ได้ค่ะ ลูกจะได้จำจดได้ง่ายขึ้น เช่น “เดือนมกราคมนี้ก็จะถึงวันเกินของลูกๆ จะมีอายุครบ 2 ขวบแล้วนะ” หรือ “วันที่ 13 เมษายนนี้ จะเป็นวันสงกรานต์ แม่จะพาลูกไปเล่นสาดน้ำสนุกๆ กันนะ” Sunday : เรียนรู้จังหวะ ดนตรี คุณสามารถฝึกประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้ลูกได้ด้วยการเรียนรู้จังหวะจากเครื่องดนตรีง่ายๆ เช่น กลอง ไซโลโฟนหรือเครื่องดนตรีอื่นๆ ที่ตีแล้วเกิดเสียง เช่น การตีกลองโต้ตอบกับลูก ครั้งแรกคุณลองตีกลอง 2 ครั้ง แล้วให้เจ้าตัวเล็กตีกลองรับ 2 ครั้ง แล้วค่อยเพิ่มเป็น 3 ครั้ง 4 ครั้ง หรือ 5 ครั้ง จากนั้นเปลี่ยนให้ลูกตีนำและคุณตีตามบ้าง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกเข้าใจการโต้ตอบจากจังหวะกลองได้ จากกิจกรรมที่ยกตัวอย่าง ก็จะช่วยให้เจ้าตัวเล็กวัยซนสนใจเล่นคณิตศาสตร์แสนสนุกไปพร้อมๆ กับคุณแล้วล่ะค่ะ

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ วันที่ 19 พ.ย. 2550


เรียนเรื่องงานวิจัยสำหรับเด็กปฐมวัย กิจกรรมที่จัดขึ้นมาต้องให้เหมาะสมกับวัยของเด็กและต้องให้เหมาะกับพัฒนาการการเรียนรู้ ครูและผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก เพื่อคอยให้การดูแลและคอยช่วยเหลือเด็กดมื่อเด็กๆต้องการความช่วยเหลือ

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การทำสไลด์และเพิ่มองค์ประกอบ


วันนี้ยังไม่ได้ลงมือทำเพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ไม้พอในการใช้งาน

สรุปงานวิจัย(วันที่ 13 พ.ย.2550)




งานวิจัยครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อการเปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็ก ซึ่งเด็กแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน ทั้งสติปัญญา เพศ อายุ ความพร้อมและความต้องการของเด็ก งานวิจัยครั้งนี้ได้จัดทำขึ้นกับเด็กระดับชั้นอนุบาล 2 ปี 2543 อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จำนวน 614 คน จาก 15 โรงเรียน จัดทำโดยการสร้างแบบทดสอบทางคณิตศาสตร์ ที่ใช้สื่อการเรียนการสอนแตกต่างกัน และให้เด็กได้ลงมือทำแบบทดสอบ เมื่อเด็กทำแบบทดสอบเสร็จก็ทำการประเมิน หลังจากนั้นนำผลการประเมินไปศึกษาเพื่อพัฒนาการจักประสบการณ์การเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กเพื่อเป็นพื้นฐานให้แก่เด็กในการศึกษาในระดับชั้นต่อไป

การจัดทำงานวิจัยในครั้งนี้ ทำขึ้นเพื่อศึกษา ทดลอง รูปแบบการจัดการเรียนการสอนสื่อทางคณิตศาสตร์ที่จะสร้างศักยภาพทางคณิตศาสตร์ และเสริมสร้างทักษะทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็ก
วันจันทร์, พฤศจิกายน 5, 2007

สิ่งที่ได้จากการเรียน


สิ่งที่ได้จากการเรียนในวันที่ 12 พ.ย. 2550 เรียนเรื่อง เราสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยเพื่ออะไร เพื่อให้ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน คณิตศาสตร์สำหรับเด็กต้องมีเนื้อหาที่ง่าย เด็กเรียนแล้วมีความสุข เหมาะสมกับพัฒนาการ สอดคล้องกับการเรียนรู้

ความหมายทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กนับ แทนค่า เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้

สิ่งที่ได้จากการเรียนในวันที่ 13 พ.ย. 2550


เรียนเรื่องงานวิจัยทางคณิตศาสตรืสำหรับเด็ก สรุปงานวิจัย และเล่นเกมฝึกสมองของเด็ก ในบล็อกของอาจารย์

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

WEBBLOG


วันนี้เรียนเรื่องการทำ "WEBBLOG" สนุกมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ